***Welcome to the Buddhist Center of Dallas, Dallas, TX, USA ***ยินดีต้อนรับเข้าสู่เวปไซต์วัดพุทธดัลลัส เท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ****

Main menu th-TH

mod_thai25clock

iCagenda - Calendar

No event in the calendar
พฤ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28

Any Westerners Looking to Learn About Buddhism
At Wat Dallas we have a Buddhist Discussion Group for Western Students in English Every Wednesday at 7:00 PM in the Main Building after Chanting and Meditation. If you are interested in Buddhism or are a practicing Buddhist.Please join us on for an open discussion on Dhamma. Please question everything and come with all your questions. If you are needing assistance in becoming a monk and wish to learn more please contact Jack Boling. Kent and Jack Boling will be leading the discussion on Buddhism. If you need personal instruction you can contact Jack Boling at 940-594-7794 or Kent at 214-690-7797

สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล

 

พระพุทธพจน์

"ดูกรอานนท์ สถานที่ที่ชนผู้มีความเชื่อและเลื่อมใส ควรจะรู้ควรจะเห็น และชวนให้เกิดความสังเวชสลดใจ คือ สถานที่พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ"

place11

๑. ลุมพินี สถานที่ประสูติ

(อยู่ในประเทศเนปาล) ห่างจากชายแดนอินเดียประมาณ ๒๑ ก.ม. เป็นลักษณะทุ่งกว้าง มีพระวิหาร-มหามายา มีสระโบกขรณี และมีเนินดินแบ่งเขตระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ๒ เนินใหญ่พอควร มี "เสาอโศก" อยู่กึ่งกลางพอดี มีวัดพุทธศาสนาของคณะสงฆ์เนปาล และบ้านพักทัวริส ๑ หลัง ปัจจุบันได้มีวัดธิเบต เส้นทางถนนในเขตเนปาลค่อนข้างขระขระนิดหน่อย ไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร แต่ก็พออาศัยไป-มาได้ ทางรัฐบาลเนปาลได้จัดดูแลบริเวณลุมพินีและโบราณวัตถุไว้ได้ดีพอควร เป็นที่น่าเสียดายที่ระหว่างลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งห่างไกลกันไม่มากประมาณ ๑๔ ไมล์ แต่ไม่อาจเดินทางโดยสะดวกได้ภายในเขตประเทศเนปาล ต้องย้อนกลับมาทางเดิมที่เนาการ์ อินเดีย และต่อไปอีก ๑ สถานีรถไฟ จึงจะเข้าไปถึงกรุงกบิลพัสดุ์ได้

place22

๒. พระศรีมหาโพธิ

"พระศรีมหาโพธิ-พุทธคยา" สถานที่ตรัสรู้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก แห่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จังหวัดคยา มีกรุงราชคฤห์ เป็นเมืองหลวงในอดีต นับจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราถึงสถานที่ตรัสรู้ ปัจจุบันห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร

ปัจจุบัน แม่น้ำเนรัญชรา ชาวบ้านแถวนั้นพากันเรียกว่า ลีลาจัน คำว่า ลิลาจัน นี้ เป็นคำพูดซึ่งเพี้ยนมาจากคำสันสกฤตว่า ไนยรันจนะ แปลว่า แม่น้ำที่มีสีใสบริสุทธิ์สะอาด ต้นกำเนิดแห่งแม่น้ำเนรัญชราสายนี้ไหลย้อนมาจากเมือง ฮาซาริบัค ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองคยา คดเคี้ยวไหลเรื่อยไปบรรจบกับแม่น้ำโมหนี ห่างจากสถานที่ตรัสรู้ไปจนสุดแม่น้ำสายนี้ ยาวประมาณ ๒ ไมล์ครึ่ง ต่อจากแม่น้ำทั้งสองบรรจบกันแล้ว ปัจจุบันเรียกว่า "แม่น้ำฟันกุ" ไหลผ่านไปที่ตัวเมืองคยา รวมความยาวของแม่น้ำเนรัญชรา ยาวประมาณ ๑๕๐ ไมล์

สถานที่ตรัสรู้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลโพธิคยา หรือพุทธยา มีอาณาเขตติดต่อกับตำบาลตารดิตถ์ จังหวัดคยา แห่งรัฐพิหาร มีเมืองปัตนะ เป็นเมืองหลวงของรัฐ ก่อนจะเดินทางถึงบริเวณสถานที่ตรัสรู้ คือต้นพระศรีมหาโพธิ จะมองเห็นพระวิหารโพธิ (พระเจีย์ ๔ เหลี่ยม) ตั้งตระหง่านสูงประมาณ ๑๗๐ ฟิตจากพื้นดิน เมื่อเดินเข้าไปใกล้จะมองเห็นว่า สถานที่รอบ ๆ ที่ตรัสรู้นี้ ตั้งอยู่ที่ลุ่มลึกลงต่ำไปจากระดับพื้นเนินสูงลงไปประมาณ ๕ เมตร

สถานที่ตรัสรู้ตั้งอยู่ในที่ลุ่มลึกต่ำจากระดับถึง ๕ เมตรเช่นนี้ ตามบันทึกของหลวงจีนถังซำจั๋งได้กล่าวไว้เมื่อคราวไปสืบศาสนา ณ ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๑๑๗๓ ว่า บริเวณรอบ ๆ พระศรีมหาโพธิ มีวิหารใหญ่หลังหนึ่งชื่อว่า มหาโพธิสังฆาราม ซึ่งกษัตริย์ชาวซีลอน (ลังกา) ทรงพระนามว่า เมฆวัน เป็นผู้สร้าง วิหารหลังนี้ประกอบด้วยห้อง ๖ ห้อง มียอด ๔ ยอด บรรจุพระสงฆ์ได้ถึง ๑,๐๐๐ รูป แวดล้อมด้วยกำแพงหนา ๙ ฟิต สูง ๓๐ ถึง ๔๐ ฟิต

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๓ เศษ พระวิหารทั้ง ๓ หลังนี้รวมทั้งกำแพงที่้ล้อมพระวิหาร ได้ถูกษัตริย์ชาวมุสลิมเข้าทำลายจนปรักหักพังไม่มีชิ้นดีเหลืออยู่ ปูชนียวัตถุในบริเวณนั้นถูกทำลายลงด้วยน้ำมือของชาวมุสลิมจนหมดสิ้น เว้นแต่ต้นพระศรีมหาโพธิิเท่านั้น ที่กษัตริย์ชาวมุสลิมมิได้ทำลายแต่อย่างไร

บรรดาซากถาวรวัตถุที่สลักหักพังได้ร่วงหล่นทับถมลงในบริเวณพื้นที่บริเวณนี้สูงจากพื้นดินประมาณ ๔ เมตร

ตกมาถึง ค.ศ. ๑๘๗๗ เซอร์คันนิ่งแฮมชาวอังกฤษพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอินเดีย ได้ทำหนังสือขออนุญาตจากรัฐบาล เพื่อทำการขุดค้ันซากปรับหักพังเหล่านี้ หลังจากได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้วจึงได้เริ่มทำการขุดค้นปูชนียวัตถุที่จมอยู่ใต้ดินดังรูปที่ปรากฏเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้

ก่อนที่จะเข้าถึงต้นพระศรีมหาโพธิ จักต้องเดินลงไปทางบันไดด้านหลังต้นพระศรีมหาโพธิ ซึ่งตั้งอยู่ติดด้านพระวิหาร โดยมีรัตนบัลลังก์ หรือที่เรียกกันว่าวัชรอาสน์ คั่นอยู่ตรงกลาง ณ สถานที่นี้เอง ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่งบำเพ็ญเพียรจนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

place33

๓. สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา

โลกได้รับแสงสว่างด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผล ก็เพราะพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเริ่มแรก จากผลการปฏิบัติและบำเพ็ญเพียรอย่างหนักตลอดเวลา ๖ ปี จนพระองค์ได้ตรัสรู้ เทศนาครั้งแรกหมายถึงการประกาศสัจธรรมต่อชาวโลกที่เริ่มต้นและต่อๆ ไป สถานที่นี้จึงได้ชื่อว่า "สารนาถ" หมายถึงพื้นที่อันมีสาระประเสริฐสุดของมวลมนุษย์ สถานที่นี้ตั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเดิมนั่นเอง ห่างจากเมืองพาราณสี ๖ ไมล์ มีสถูปโบราณวัตถุ ทรงบาตรคว่ำ มียอดทรงกรวยวัดโดยรอบประมาณ ๑๒๐ ฟิต สูงประมาณ ๘๐ ฟิต มีชื่อเรียกว่า "ธรรมเมกขสถูป" หมายถึง สถานที่แสดงธรรมที่นำให้ถึงความหลุดพ้น ดังนั้น พระธัมมจักกัปปวัตนสูตา ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธองค์จึงเป็นพระสูตรที่ชาวพุทธทั่วโลกได้สนใจศึกษาค้นคว้ากันอย่างแพร่หลายและศึกษากันอย่างแท้จริง

เนื้อที่บริเวณ สารนาถ กว้างใหญ่มาก มีซากโบราณวัตถุที่ทำการขุดค้นแล้วอย่างมากมาย ปรากฏมีพระมูลคันธกุฎีที่ประทับของพระพุทธองค์ยังปรากฏอยู่ เสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราชยังได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดี แม้จะหักเป็นท่อนๆ ก็ยังสามารถพิจารณาประกอบในด้านวิชการด้านโบราณคดีได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถมองเห็นภาพพจน์ในสมัยพุทธกาลด้วยความศรัทธายิ่ง สถานที่นี้ รัฐบาลอินเดียให้ความอารักขาดูแลป็นอย่างดีพร้อมทั้งได้จำลองสวนกวางในสมัยพุทธกาลไว้ให้ปรากฏด้วย ท่าน อนาคาริก ธัมมปาละ ชาวลังกาได้เสริมสร้าง พระคันธกุฏี จำลอง รูปทรงจากเจดีย์พุทธคยาและดัดแปลงให้มีห้องโถงไว้ด้านข้างของ ธรรมเมกขสถูป ด้วยความน่าดูยิ่ง

เจาคันธีสถูป ห่างจาก ธรรมเมกขสถูป ประมาณ ๗ เส้น ซึ่งเป็นต้นทางจะปรากฎมีเนินดินสูง ส่วนบนมีลักษณะก่ออิฐโบราณ ๖ เหลี่ยม (ทราบว่ามุสลิมมายึดสร้างเป็นที่ฝังศพตอนหลัง) สถานที่นี้เรียกว่า เจาคันธีสถูป หมายถึงสถานที่ๆ พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งหนีพระพุทธองค์จากพุทธคยามาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้เริ่มมองเห็นพระพุธทธเจ้า ตอนที่มาโปรดเบญจวัคคีย์ครั้งแรก

ที่เมืองพาราณสีเป็นเมืองที่มีแม่น้ำคงคาไหลผ่านชิดตัวเมืองพอดี และเป็นแห่งเดียวที่ปรากฏว่า แม่น้ำคงคา เป็นแม่น้ำที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดียวที่นับถือศาสนาฮินดูอย่างล้นเหลือ ท่า อัศวเมศร ที่ริมคงคาก็ยังปรากฏอยู่ พิธีอาบน้ำคงคาเพื่อลอยบาปก็ยังปรากฏอยู่ โดยเฉพาะในเทศกาล เดือน ๑๑ เพ็ญ พิธีอาบน้ำในแม่น้ำคงคา เพื่อลอยบาปนั้น เป็นพิธีที่มโฬหารอย่างล้นพ้นจริงๆ เพราะเมื่อถึงวันนั้นของทุกปี ประชาชนจะมืดฟ้ามัวดินไม่อาจนับได้ จะได้หลั่งไหลมาสู่แม่น้ำคงคา เพื่อลอยบาปอย่างล้นหลาม พิธีเผาศพที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ที่พูดกันมาจนไม่น่าเชื่อว่า แสงไฟได้ลุกโพลงเผาศพติดต่อกันมากกว่า ๕๐๐๐ ปี ไม่มีดับ ทุกวันนี้ก็ยังปรากฏอยู่ รวมทั้งพิธีถ่วงศพพรหมจารีลงในแม่น้ำคงคงด้วย เมืองกาสีโบาณ ก็ยังคงปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบัน อยู่ริมฝั่งเจ้าแม่คงคานั่นเอง

การเดินทางสู่สารนาถ การเดินทางไปสารนาถนั้น ควรถือเอาพาราณสีเป็นศูนย์กลางการเดินทาง (ห่างกันเพียง ๙ ก.ม.เศษ) เพราะสะดวกแทบทุกเส้นทาง (มีโรงแรมชั้นดีด้วย) ทางรถไฟแทบทุกสายผ่านพาราณสี ทางรถยนต์ รวมทั้งรถประจำทางด้วย ทางเครื่องบิน เมื่อถึงพาราณสีแล้ว หากพอมีเวลาจะต่อไปไหว้พระที่กุสินารา ลุมพินีเสียเลยก็ได้ไม่เสียเวลามากนัก วิธีที่สะดวกนิยมเหมารถแท็กซี่ไป-กลับ จะค้างระหว่างทาง ๑ คืนหรือ ๒ คืนตามสะดวก

palce44

๔. กุสินารา สถานที่ดับขันธปรินิพพาน

กุสินารา เรียกตามภาษาถิ่นว่า เรียกตามภาษาถิ่นว่า กุสินครา พระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สถานที่นี้ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ ปีพอดี ภายหลังจากฉันบิณฑบาตจากนายจุนทะ เป็นอาหารมื้อสุดท้าย กล่าวกันว่า นายจุนทะได้ถวายอาหารอันประณีตที่ประกอบไปด้วย สุกรมัททวะ ที่ตำราในเมืองไทยเราถอดความว่า เนื้อสุกร แต่ทางอินเดียวถือว่า เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกิน ปัจจุบันบ้านนายจุนทะ ที่พระพุทธเจ้าเสวยอาหารครั้งสุดท้ายยังเป็นเนินสูงใหญ่กว้าง ทางรัฐบาลอินเดียได้ให้ความคุ้มครองรักษาไว้ด้วยดี เส้นทางผ่านลำธาร กกุธานที มายังกุสินารายังมีปรากฏให้ประจักอยู่ เส้นทางนี้ ส่วนมากคณะไหว้พระไปไม่ถึง เพราะเส้นทางไม่สะดวกเท่าที่ควร ความจริงแล้วก็ไม่ไกลมากนัก

บริเวณ กุสินารา สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ใหญ่กว้าง มีต้นไม้นานาพันธุ์ ร่มรื่มพอสมควร โดยเฉพาะหน้าพระคันธกุฎี ซึ่งเป็นโบราณวัตถุ มีต้นสาละปลูกไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อเป็นอนุสสติถึงพระพุทธองค์ องค์พระสถูป ปรินิพพาน เป็นทรงบาตรคว่ำสูงใหญ่ มีฉัตร ๓ ชั้นตอนบนสุด ได้พังเมื่อปลายปี ๒๕๐๖ ปัจจุบันจะเห็นได้ในลักษณะครึ่งท่อนขององค์พระสถูปเป็นโบราณวัตถุ ตอนหน้าองค์พระสถูปปรินิพพาน มีมหาวิหารเป็นพระคันธกุฎี มีพระพุทธรูปทรงไสยาสน์ ปางเสด็จดับขันธปรินิพาพานขนาดเขื่องพอสมควร รูปปั้นพระพุทธรูปปางปรินิพพานนี้งดงามมาก เห็นแล้วเหมือนพระพุทธองค์ทรงหลับอย่างสบาย ๆ ไม่มีพุทธลักษณที่ฝืน ๆหรือแบบนอนไม่สบาย อย่างบ้านเราหลาย ๆ วัดที่ปรากฏเช่นนั้นหลายท่านเห็นภาพพระพุทธองค์ปรินิพพานนี้แล้ว เป็นภาพที่เป็นธรรมชาติจริงๆ เสมือนหนึ่งพระองค์เพิ่งทรงจากไปใหม่ๆ จึงให้ต่างหลั่งน้ำตาไปตามๆ กัน ด้วยความเคารพสักการะในพระพุทธองค์

มกุฏพันธนเจดีย์ ที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ อยู่ห่างจากที่ปรินิพพาน ๑ ก.ม. พอดี ปัจจุบันเป็นเนินดินและสูงใหญ่ ทางรัฐบาลอินเดียได้จัดรักษาให้มีรั้วล้อมรอบขอบชิดเป็นอย่างดี

flbar14